คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต,บรรยายวิชาการ,วิจัย,ศึกษากุรอาน,E-Book

วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การวางแผนการดำเนินงานสาธารณสุขในชุมชน

                    การวางแผนการดำเนินงานสาธารณสุขในชุมชน เป็นการทำงานที่มีกระบวนการโดยที่มีขั้นตอนที่ชัดเจน จำเป็นอย่างยิ่งที่นักการสาธารณสุขหรือเจ้าหน้าที่ภาครัฐหรือท้องถิ่นที่ต้องทำงานกับชุมชนในการพัฒนางานหรือแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุขให้แก่ชุมชน อาทิ เช่น งานอนามัยแม่และเด็ก งานควบคุมโรค งานอาชีวอนามัย งานสุขภาพจิต เป็นต้น ซึ่งเจ้าหน้าที่ทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาล หรือ อาสาสมัครสาธารณสุข จะต้องสร้างความเข้าใจในกระบวนการการทำงานดังกล่าว โดยมีขั้นตอนหลักๆที่สามารถเข้าใจได้อย่างง่าย ดังรูป
1.การเก็บข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์
         เป็นการค้นหาข้อมูลด้านภาวะสุขภาพปัจจุบันที่เกิดขึ้นในชุมชน  เพื่อพิจารณาสถานการณ์ และนำมาเปรียบเทียบกับสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น
                   ข้อมูลสาธารณสุข 2 ระดับ
          1.ระดับครัวเรือน เช่น  น้ำ/ส้วม/ขยะ/อากาศถ่ายเท/แสงสว่าง/สัตว์เลี้ยง ฯลฯ
          2.ระดับบุคคล เช่น  เพศ/อาชีพ/การศึกษา/สิทธิการรักษา/โรคประจำตัว ฯลฯ

สรุปขั้นตอนการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์เพื่อทราบปัญหา ดังรูป
2.จัดลำดับความสำคัญของปัญหา
เป็นการพิจารณาจัดเรียงลำดับของปัญหาที่ได้จากการเก็บข้อมูล ซึ่งมีหลายปัญหาเพื่อเตรียมดำเนินการแก้ไข โดยพิจารณาตามตัวแปรหลักดังนี้
1.ขนาดและความรุนแรงของปัญหา
2.ความยากง่ายในการแก้ปัญหา
3.ความตระหนักของชุมชนต่อปัญหา
4.ผลประโยชน์ที่ได้รับ
           โดยมีขั้นตอนการพิจารณาให้คะแนนในแต่ละปัญหา ดังนี้
-สร้างและกำหนดเกณฑ์ ตามตัวแปร
-ให้น้ำหนักแต่ละเกณฑ์ นิยมให้คะแนนระหว่าง 1-5 คะแนน
-ให้คะแนนแต่ละปัญหา นิยมให้คะแนนระหว่าง 1-5 คะแนน
-รวมคะแนนตามที่ถ่วงน้ำหนัก โดยรวมผลคูณที่ได้จากการถ่วงน้ำหนัก
-จัดลำดับความสำคัญตามคะแนนที่ได้ โดยเรียงจากมากไปน้อย
3.เขียนโครงการ
เป็นการกำหนดวิธีการและทิศทางการแก้ไขปัญหามีการระบุกิจกรรมว่าจะทำอะไร เมื่อใด แก่ใคร ที่ไหน ใช้เงินเท่าใด และใครเป็นผู้รับผิดชอบ
          องค์ประกอบของโครงการ
           1. ชื่อแผนงาน(ถ้ามี)
            2. ชื่อโครงการ
            3. หลักการและเหตุผล
            4. วัตถุประสงค์
            5. เป้าหมาย
            6. วิธีดำเนินการ
            7. ระยะเวลาดำเนินการ
            8. งบประมาณ
            9. ผู้รับผิดชอบโครงการ
          10. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
          11. การประเมินผล
          12. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
4.ลงมือปฏิบัติ
เป็นการดำเนินกิจกรรมตามที่ระบุในโครงการ ให้ครอบคลุมในทุกกิจกรรม
5.ติดตามผล
           เป็นการติดตามผลที่เกิดขึ้นจากผลการดำเนินงานตามโครงการ ทั้งที่เป็นผลลัพธ์และผลกระทบในระยะยาว

1 ความคิดเห็น:

อบต. กล่าวว่า...

ช่วยให้การวิเคราะห์งานในเบื้องต้นได้ดี ปัญหาอุปสรรคหนีไม่พ้น แต่สามารถบรรเทาได้