โครงร่างการวิจัย
เป็นการเตรียมแผนดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบมีจุดประสงค์การเขียนเพื่อ
1. เป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยตามแผนอย่างเป็นระบบ
2. เป็นข้อมูลสำหรับผู้เกี่ยวข้องใช้ในการพิจารณาตัดสินใจว่าปัญหาการวิจัยมีความสำคัญเพียงใดมีเหตุผลสมควรทำวิจัยหรือไม่ จะทำได้สำเร็จหรือไม่
ลักษณะของโครงร่างการวิจัยที่ดี ต้องเขียนในลักษณะที่สามารถปฏิบัติได้ เขียนบรรยาย (ไม่ใช่พรรณนาความ) ให้กระทัดรัด ชัดเจน จัดลำดับเนื้อหาไม่วกวน ทำให้เข้าใจง่ายและอย่างติดตาม การเขียนต้องมีความสมบูรณ์ที่จะถ่ายทอดให้ผู้ท่านเข้าใจมองเห็นแผนการดำเนินการวิจัย คือ มีองค์ประกอบการดำเนินการวิจัยครบถ้วน ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องใช้สรรพนามแทนตัวผู้เขียนว่า "ผู้วิจัย" บรรยายแผนการวิจัยว่าจะทำอะไร โดยแสดงให้เห็นความสำคัญ จำเป็นของปัญหาการวิจัยสอดแทรกทฤษฎี / วรรณกรรม สอดคล้อง และเน้นประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัยให้ครบถ้วน
ส่วนประกอบของโครงร่างการวิจัย
(แตกต่างกันไปตามสถาบันและแหล่งทุน)
1. ชื่อโครงการวิจัย
2. ผู้ดำเนินงานวิจัย
3. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
4. กรอบแนวคิดในการวิจัย
5. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
6. วิธีการดำเนินการวิจัย
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจาการวิจัย
8. ผลงานวิจัยที่ทำมาแล้ว (เกี่ยวข้องกับการวิจัยครั้งนี้) ถ้ามี
9. แผนการดำเนินการวิจัย
10. งบประมาณ
11. ลายมือชื่อหัวหน้า
12. ลายมือชื่อผู้อนุมัติ
13. วัน เดือน ปี ที่อนุมัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น