คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต,บรรยายวิชาการ,วิจัย,ศึกษากุรอาน,E-Book

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

สรุป : สถิติที่ใช้ในการวิจัย




การวิจัยต้องใช้สถิติหลายกลุ่ม  ได้แก่
       กลุ่มที่  1  สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ทั้งรายข้อ  และทั้งฉบับ  เช่น  กรณี
ก. แบบทดสอบ
                 การหาคุณภาพรายข้อ  เช่น ค่าความยากง่าย(p)  และค่าอำนาจจำแนก (r)
     การหาคุณภาพทั้งฉบับ ได้แก่ การหาค่าความเที่ยง เช่น KR-20 และ            
                                   การหาค่าความตรง  ใช้  ดัชนี  IOC  (ความสอดคล้อง)
 ข. แบบสอบถามลักษณะที่เป็นแบบประมาณค่า    
      การหาคุณภาพรายข้อ  ใช่ค่าที  (T- value)   การหาค่าความเที่ยงใช้สูตร  Alpha   Coefficient ของ  Cronbach   
      การหาค่าความตรงของแบบสอบถาม  ก็ใช้การหาดัชนี  IOC
                              
                สรุป :   ผู้ที่จะทำวิจัยต้องมีทักษะพื้นฐานด้านการวัดผลประเมินผล  และการหาคุณภาพของเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัยมาก่อน (ซึ่งมีสถิติมากมายหลายตัว)  และสามารถใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณค่าสถิติได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
      กลุ่มที่  2  สถิติบรรยาย  (Descriptive  Statistics)  เช่น  ค่าเฉลี่ย  (X)  ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน    ความถี่   ร้อยละ  สถิติวัดความสัมพันธ์  เป็นสถิติพื้นฐานที่ต้องใช้กับการวิจัยเกือบทุกเรื่อง
      กลุ่มที่  3  สถิติอ้างอิง  (Inferential  Statistics) หรือสถิติอนุมาน 
สถิติอ้างอิง เป็นสถิติที่ใช้สรุปค่าสถิติไปยังค่าพารามิเตอร์  ใช้ในกรณีทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง  โดยมากจะใช้ในการทดสอบสมมุติฐานที่นักวิจัยตั้งไว้ (Hypothesis  Testing) หรือ  การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ  (Test  of  Significance)

หลักการเลือกสถิติให้เหมาะสม

          1.การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ   บรรยายข้อมูล (กรณีทำกับประชากรทั้งหมด ใช้สถิติบรรยาย)  หรือสรุปอ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างไปยังค่าประชากร  (กรณีทำการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง  ต้องใช้สถิติบรรยายและสถิติอ้างอิง)
2.จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีกี่กลุ่ม
                   1  กลุ่ม
                   2  กลุ่ม
                   มากกว่า  2  กลุ่ม
3.ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาอยู่ในระดับใด  หรือมาตราใด
                   นามบัญญัติ
                   จัดอันดับ
                   อันตรภาค
                   อัตราส่วน
4.ตัวแปรที่ใช้มีกี่ตัว
                   1  ตัวแปร
                   2  ตัวแปร
                   มากกว่า  2  ตัวแปร
เมื่อได้พิจารณาลักษณะสำคัญของข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้แล้วก็ต้องเลือกสถิติอ้างอิง
ให้เหมาะกับลักษณะของข้อมูล  และข้อตกลงเบื้องต้นของสถิติแต่และตัว (ศึกษาได้จากตาราง) 
ซึ่งสถิติที่ใช้ในการอ้างอิงข้อมูลมี  2  ประเภท  คือ
สถิติแบบพาราเมตริก  (Parametric)  ใช้สำหรับข้อมูลอันตรภาค และอัตราส่วน  และแบบนอนพาราเมตริก (Nonparametric)  ใช้สำหรับข้อมูลที่อยู่ในระดับนามบัญญัติ  และจัดอันดับ

                  การเลือกใช้สถิติอ้างอิงข้อมูลที่ใช้กันมาก  สรุปได้ดังตาราง

ระดับการวัด
ข้อมูล
                                          สถิติที่เหมาะสม
  กลุ่มตัวอย่าง   กลุ่ม
กลุ่มตัวอย่าง กลุ่ม
กลุ่มตัวอย่างมากกว่า กลุ่ม
นามบัญญัติ
Binomial  test
c2 - test
Mcnemar  test
c2 - test
Cocharn  Q-test
c2 - test
จัดอันดับ
Komogorovsminov  test

Runs  test
Sign  test

U - test
Friedman  two-way
Analysis of  variance
Kruskal –wallis  one –way
Analysis  of  variance
อันตรภาค
และ
อัตราส่วน
t –test
Z - test
T – test
Z – test
F - test
Analysis of  variance (ANOVA)
Analysis of  covariance (ANCOVA)
MANOVA

ตัวอย่าง เช่น 

1.สุ่มนักเรียนมา  9  คน  เพื่อทดสอบความรู้หลังจากที่อบรมไปแล้ว  พบว่านักเรียนได้คะแนน  6, 7, 9, 10, 5, 6, 4, 7, 5   ถ้าจะทดสอบว่าค่าเฉลี่ยของนกเรียนโรงเรียนแห่งนั้นมีค่าเท่ากับ  7  คะแนน (เกณฑ์ที่ตั้งไว้)  จริงหรือไม่   ข้อมูลลักษณะนี้ใช้   t -  test  แบบ  อิสระ (Independent)ทดสอบ   เพราะเป็นกลุ่มตัวอย่าง  1  กลุ่มขนาดเล็ก  (N < 30)  และข้อมูลเป็นคะแนนอยู่ในระดับอันตรภาค
2.ต้องการเปรียบเทียบผลการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชายและหญิงจำนวนกลุ่มละ  25  คน   ต้องใช้  t – test  แบบอิสระ (Independent)  ทดสอบ
3. ต้องการเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนในเขตเทศบาลกับนอกเขตเทศบาล  โดยสุ่มตัวอย่างมากลุ่มละ  500  คน  ใช้  Z -  test  ทดสอบ
4.ในการทดสอบผู้เข้าอบรมก่อนการอบรมและหลังการอบรม  เพื่อดูประสิทธิผลของโครงการนี้  ต้องใช้   t – test   แบบ  ไม่อิสระ  (Dependent)
5. ต้องการเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนโรงเรียนขนาดใหญ่  กลาง   เล็ก  ใช้
ANOVA  ทดสอบ


ไม่มีความคิดเห็น: